การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม









ผู้มีส่วนได้เสีย




ความสําคัญ
การดำเนินธุรกิจท่าอากาศยานและการขยายท่าอากาศยานมีผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตของชุมชนท้องถิ่น ซึ่งอาจส่งผลกระทบทั้งเชิงบวกและเชิงลบ เช่น การขยายระบบสาธารณูปโภคของชุมชนเพิ่มขึ้น การเวนคืนพื้นที่ใกล้เคียง ผลกระทบทางเสียงจากการจราจรทางอากาศ ผลกระทบจากการจราจรที่หนาแน่นขึ้น แต่ในขณะเดียวกันก็เป็นโอกาสของระดับประเทศและระดับท้องถิ่น เช่น การสร้างรายได้จากการท่องเที่ยว การเข้าถึงระบบการคมนาคมขนส่ง และความปลอดภัยในชุมชน ซึ่งทั้งหมดนี้ จำเป็นต้องอาศัยกระบวนการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในระดับชุมชน รวมถึงการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมเพื่อให้เกิดคุณค่าร่วมกันทั้งท่าอากาศยาน ชุมชนท้องถิ่น และสังคมในระดับประเทศ นอกจากนี้ การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคมยังเป็นการเคารพต่อสิทธิมนุษยชนเกี่ยวกับสิทธิในการมีชีวิตและความปลอดภัย และสิทธิในการได้รับการปฏิบัติอย่างเป็นธรรมตามกฎหมายโดยการดำเนินการที่มุ่งเน้นความร่วมมือและการสร้างคุณค่าร่วม จะช่วยให้ ทอท.สามารถเติบโตไปพร้อมกับชุมชนและสังคมได้อย่างยั่งยืน
นโยบาย
ทอท. กำหนดนโยบายการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อแสดงถึงความมุ่งมั่นในการเป็นท่าอากาศยานที่เป็นพลเมืองดีของสังคมและเป็นมิตรที่ดีของชุมชน โดยมีเนื้อหาที่ครอบคลุมไปยังกลุ่มชุมชนและสังคม ผ่านการวิเคราะห์ผู้มีส่วนได้เสีย การสื่อสาร การเปิดเผยข้อมูล การมีส่วนร่วม การนำไปปฏิบัติ และการติดตามและรายงานผล อีกทั้ง ทอท. กำหนด แนวปฏิบัติด้านการบริหารจัดการผู้มีส่วนได้เสียของ ทอท. เพื่อเป็นแนวทางให้กับส่วนงาน ทอท. สายงานที่เกี่ยวข้อง ได้ดำเนินการเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสียให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั่วทั้งองค์กรกร
แนวทางการจัดการ

ทอท. จัดทำแผนแม่บทด้านผู้มีส่วนได้เสียของ ทอท. ปีงบประมาณ 2567 - 2570 (ฉบับทบทวนปีงบประมาณ 2567) แผนแม่บทด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของ ทอท. ปีงบประมาณ 2567 - 2571 ฉบับทบทวน (ประจำปีงบประมาณ 2567) และคู่มือกระบวนการเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสียในระดับชุมชน โดยมีความครอบคลุมตลอดห่วงโซ่อุปทาน รวมถึงสอดคล้องกับทิศทางของแผนวิสาหกิจของ ทอท. ปีงบประมาณ 2566 - 2570 ฉบับทบทวน (ประจำปีงบประมาณ 2567) ที่อ้างอิงตามแนวโน้มของอุตสาหกรรมการบินและมาตรฐาน/กรอบการประเมินด้านความยั่งยืนในระดับสากล เช่น มาตรฐานการเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสีย Accountability 1000 Stakeholder Engagement Standard (AA1000SES) มาตรฐานความรับผิดชอบต่อสังคม International Organization for Standardization 26000 Guidance on Social Responsibility: ISO 26000:2010 การประเมินความยั่งยืนองค์กร Corporate Sustainability Assessment (CSA) และแนวทางการรายงานตามมาตรฐาน Global Reporting Initiative (GRI Standards) ฉบับปี 2021 เป็นต้น เพื่อเป็นแนวทางการดำเนินงานการมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้เสียในระดับชุมชนบริเวณโดยรอบท่าอากาศยาน ทั้ง 6 แห่ง ให้กับสำนักกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ (ฝ่ายกิจการเพื่อสังคม) และฝ่ายกิจการพิเศษและมวลชนสัมพันธ์ของ 6 ท่าอากาศยาน ที่เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม โดยกำหนดเป้าหมายระยะยาวด้านความพึงพอใจของชุมชนและผลตอบแทนทางสังคมจากกิจกรรมเพื่อสังคม ดังนี้

ตัวชี้วัด | เป้าหมายปี 2570 |
---|---|
อัตราการเติบโตจากค่าฐาน (ปี 2567) ของ SROI กิจกรรมเพื่อสังคม | +15% |
ความพึงพอใจของชุมชนที่เข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคม | 85% |
ความสำเร็จของการจัดทำฐานข้อมูลด้านผู้มีส่วนได้เสีย | 100% |
ความสำเร็จของการพัฒนาระบบการจัดเก็บข้อมูลด้านผู้มีส่วนได้เสีย | 75% |
กลยุทธ์การดําเนินงานเพื่อส่งมอบคุณค่าทางสังคมของ ทอท. (Community Relation Framework)
ทอท. ดําเนินงานภายใต้แนวคิด “การเป็นสนามบินที่เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของชุมชน” พร้อมทั้งสอดคล้องกับแผนวิสาหกิจของ ทอท. ปีงบประมาณ 2566 - 2570 ฉบับทบทวน (ปีงบประมาณ 2567) ซึ่งระบุไว้ใน
-
วัตถุประสงค์เชิงยุทธศาสตร์ (Strategic Objective) SO4 (Lead Changes Toward Sustainability)
สร้างสมดุลด้านการดำเนินธุรกิจควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม สังคม และธรรมาภิบาล เพื่อให้การดำเนินธุรกิจมีความมั่นคงและเติบโตได้อย่างยั่งยืน-
•
ยุทธศาสตร์ที่ 6: มุ่งสู่การเป็นท่าอากาศยานที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
- • กลยุทธ์ 6.2 สร้างการยอมรับจากผู้มีส่วนได้เสีย
-
•
ยุทธศาสตร์ที่ 6: มุ่งสู่การเป็นท่าอากาศยานที่เป็นมิตรกับสังคมและสิ่งแวดล้อม
เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายด้านความยั่งยืน ได้กำหนดกรอบแนวทางในการดำเนินงานเพื่อส่งมอบคุณค่าทางสังคม ประกอบด้วยกรอบแนวทาง 4 ด้าน (Community Investment Focus Areas) ที่เปรียบเสมือนหัวใจหลักในการกำหนดและดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมทั้งในระดับองค์กรและระดับท่าอากาศยาน โดยยังสนับสนุนเป้าหมายการพัฒนาที่อย่างยั่นยืน (Sustainable Development Goals: SDGs) ได้แก่ การสร้างความสัมพันธ์กับชุมชน การพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น การอนุรักษ์ระบบนิเวศ และการพัฒนาทุนมนุษย์ และมุ่งมั่นดูแลชุมชนและสังคมอย่างต่อเนื่อง โดยใช้ความสามารถเฉพาะทางขององค์กร เพื่อสร้างผลกระทบเชิงบวกและส่งเสริมความร่วมมือระหว่างท่าอากาศยาน ชุมชน และสังคมในภาพรวม

การจัดทําฐานข้อมูลผู้มีส่วนได้เสียระดับชุมชน (Identifying Affected Communities And Range Of Local Stakeholders)
ทอท. จัดทําฐานข้อมูลผู้มีส่วนได้เสียระดับชุมชน ทั้ง 6 ท่าอากาศยาน เพื่อระบุกลุ่มผู้มีส่วนได้เสียที่เกี่ยวข้อง วิเคราะห์ประเด็นความคาดหวัง และประเมินแนวทางการมีส่วนร่วม เพื่อนําไปสู่การตอบสนองความต้องการของกลุ่มผู้มีส่วนได้เสีย
ที่เกี่ยวข้องในระดับชุมชนได้อย่างตรงจุด โดยในปัจจุบันหลักเกณฑ์ในการกําหนดพื้นที่ชุมชนสําคัญของ ทอท. แบ่งออกเป็น 3 หลักเกณฑ์ ได้แก่
- เกณฑ์การกําหนดพื้นที่ศึกษาตามการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environment Impact Assessment: EIA)
- เกณฑ์การกําหนดพื้นที่ตามแผนฉุกเฉินของท่าอากาศยาน (Airport Emergency Plan)
- เกณฑ์การประเมินผลกระทบด้านเสียงจากอากาศยาน (Noise Contour)
นอกจากนี้ ฐานข้อมูลผู้มีส่วนได้เสียระดับชุมชนดังกล่าวยังคํานึงถึงกลุ่มเปราะบางต่าง ๆ (Identifying Vulnerable Groups As Part Of Identification Process) เช่น ผู้เยาว์ ผู้สูงอายุ แรงงาน ต่างด้าว รวมถึงมีการทบทวนอย่างสม่ำเสมอให้สอดคล้องกับบริบทที่เปลี่ยนแปลง ข้อมูลจากฐานข้อมูลผู้มีส่วนได้เสียระดับชุมชนได้ถูกนำมาใช้ในคัดเลือกเครื่องมือ/วิธีการและการวางแผนการเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสียในระดับชุมชนที่เหมาะสมต่อชุมชนที่มีความสำคัญ (High-Priority Stakeholders) ทั้งนี้ ทอท. มีกลยุทธ์ในการมีส่วนร่วมกับชุมชนที่มีความสำคัญผ่านการร่วมกันตัดสินใจ การสื่อสารแบบสองทาง (Two-way Communication) และการดำเนินงานระยะยาว (Engagement Strategy Includes Local Stakeholders)
การตรวจสอบผลกระทบและการสร้างศักยภาพ (Community Impact Assessment & Capacity Building)
ทอท. ได้มอบหมายให้สำนักกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ฝ่ายกิจการเพื่อสังคม (สำนักงานใหญ่) และ ฝ่ายกิจการพิเศษและมวลชนสัมพันธ์ (6 ท่าอากาศยาน) เป็นผู้รับผิดชอบหลักในการดำเนินงานและติดตามผลการตรวจสอบ ผลกระทบทางลบที่เกิดจากการดำเนินงานของ ทอท. ต่อชุมชนและสังคม รวมถึงการสร้างศักยภาพให้แก่ชุมชนในด้านการสื่อสารระหว่าง ทอท. และชุมชน ผ่านการลงพื้นที่เชื่อมโยงกับชุมชน
แนวทางการดำเนินงาน | การดูแลชุมชนและสังคม | เป้าหมาย |
---|---|---|
|
ทอท. ให้ความสำคัญกับการดูแลและสนับสนุนชุมชนโดยรอบท่าอากาศยานอย่างต่อเนื่อง ผ่านโครงการ/กิจกรรมเพื่อสังคม ในระดับองค์กรและระดับท่าอากาศยาน (Stakeholder Engagement Programs Are Applied At All Local Operations) เช่น
|
|
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
ตัวอย่างแบบฟอร์มการเชื่อมโยงกับชุมชน
การแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างท่าอากาศยาน
ฝ่ายกิจการเพื่อสังคมดำเนินการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ระหว่างผู้ปฏิบัติงานด้านกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อเสริมสร้างความเชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสีย และเพิ่มประสิทธิภาพการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมอย่างรวดเร็ว โดยการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ผ่านช่องทางต่าง ๆ ดังต่อไปนี้
- อินทราเน็ตองค์กร (Intranet)
- การถอดบทเรียนจากการปฏิบัติงาน (After Action Review: AAR) >/li>
- การฝึกอบรม
- การประชุมของผู้ปฏิบัติงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม
- การลงพื้นที่ในแต่ละท่าอากาศยานเพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ (Site Visit)
- ช่องทางอื่น ๆ เช่น ไลน์แอปพลิเคชัน
การรับข้อร้องเรียน (Complaints/Grievance Mechanism Available For Communities)
ศูนย์ประสานงานการแก้ไขปัญหาผลกระทบสิ่งแวดล้อมท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ โทร 0 2132 9088, 0 2133 1888 และ 0 2132 9089 เวลา 08.00 - 17.00 น. ทุกวัน ยกเว้นวันหยุดนักขัตฤกษ์ ฝ่ายสื่อสารองค์กร E-mail : aotpr@airportthai.co.th หรือ www.airportthai.co.th ในส่วน “ติดต่อและรับเรื่องร้องเรียน” |
|
6 ท่าอากาศยาน | เว็บไซต์ Airports of Thailand https://www.airportthai.co.th/th/ |
การดำเนินงาน
การประเมินผลกระทบของชุมชนและดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคม (Conducting Local Community Impact Assessment)
ทอท.มีการเชื่อมโยงกับชุมชน ประเมินผลกระทบ และดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมดังนี้ | |
---|---|
สัดส่วนท่าอากาศยานที่มีการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อมและสังคม ผ่านกระบวนการรับฟังผู้มีส่วนได้เสีย และมีการติดตามผลการบริหารจัดการผลกระทบอย่างต่อเนื่อง | ร้อยละ 83 |
สัดส่วนท่าอากาศยานที่มีการวางกลยุทธ์การเชื่อมโยงผู้มีส่วนได้เสียผ่านการจัดทำฐานข้อมูลและแผนที่ผู้มีส่วนได้เสียในระดับชุมชน (Stakeholder Profile & Mapping) | ร้อยละ 100 |
สัดส่วนท่าอากาศยานที่มีการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมในระดับชุมชน | ร้อยละ 100 |
สัดส่วนท่าอากาศยานที่มีกระบวนการรับข้อเรียนจากชุมชนอย่างเป็นทางการ | ร้อยละ 100 |
หมายเหตุ: ท่าอากาศยานหาดใหญ่เป็นท่าอากาศยานเพียงแห่งเดียวจากทั้งหมด 6 แห่ง ที่ไม่อยู่ในขอบข่ายของการจัดทำรายงานและติดตามผลการปฏิบัติตามมาตรการป้องกันและแก้ไขผลกระทบสิ่งแวดล้อม (EIA Monitoring Report) เนื่องจากไม่เข้าข่ายต้องจัดทำรายงานการประเมินผลกระทบสิ่งแวดล้อม (Environmental Impact Assessment: EIA) ทั้งนี้ เป็นเพราะไม่มีการขยายขีดความสามารถเพิ่มเติมหลังการประกาศใช้พระราชบัญญัติส่งเสริมและรักษาสิ่งแวดล้อม พ.ศ.2535
การสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมของ ทอท. (Charitable Contributions & Sponsorship)

ทอท. มีการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมในรูปแบบต่าง ๆ ทั้งการสนับสนุนทางการเงิน การอนุมัติเวลาทำงานของพนักงานเพื่อเข้าร่วมกิจกรรมเพื่อสังคม การสนับสนุนสิ่งของหรือบริการ และค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการด้านชุมชนสัมพันธ์ โดยจําแนกโครงการที่สนับสนุนออกเป็น 3 ประเภท ได้แก่ การบริจาคเพื่อการกุศลโดยไม่หวังผลกําไร การลงทุนในชุมชนเพื่อสาธารณประโยชน์ และกิจกรรมเพื่อสังคมเชิงพาณิชย์ ตามแนวทางของ Business for Societal Impact (B4SI) ที่เป็นที่ยอมรับในระดับสากล ซึ่ง ทอท. ได้เปิดเผยสัดส่วนและมูลค่าการสนับสนุนลงในรายงานความยั่งยืนเป็นประจําทุกปี
ปีงบประมาณ 2567 | |
---|---|
มูลค่าการสนับสนุนกิจกรรมเพื่อสังคมของ ทอท. | 6,346,251.85 บาท |
การวัดผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment: SROI)
ทอท. ประเมินผลการดำเนินกิจกรรมเพื่อสังคมผ่านการรับฟังข้อคิดเห็นจากการลงพื้นที่ชุมชนและการวิเคราะห์ผลตอบแทนทางสังคมจากการลงทุน (Social Return on Investment: SROI) ซึ่งช่วยในการทบทวนประสิทธิผลของโครงการ ปรับปรุงกลยุทธ์และกระบวนการดําเนินงาน รวมถึงประกอบการตัดสินใจขยายผลหรือต่อยอดโครงการในอนาคต นอกจากนี้ ผลลัพธ์ดังกล่าวยังใช้สื่อสารกับผู้มีส่วนได้เสียได้อย่างเป็นรูปธรรมและเป็นสากล
โครงการ | ผลตอบแทนด้านสังคมจากการลงทุน |
---|---|
โครงการ “HKT Loves Coral” | 1:7.46 |
โครงการ “ผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ในโรงเรียนบํารุงรวิวรรณวิทยา” | 1:1.19 |
โครงการ “การปรับปรุงพื้นที่และการจัดหาอุปกรณ์ส่งเสริมพัฒนาการเด็กปฐมวัย” | 1:1.07 |
กิจกรรมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนระดับองค์กร
กิจกรรม “First Aid ปลอดภัยเรื่องใกล้ตัว” ภายใต้โครงการ AOT พี่อาสา
ทอท. จัดกิจกรรม "First Aid ปลอดภัยเรื่องใกล้ตัว" ภายใต้โครงการ AOT พี่อาสา โดยมีเป้าหมายผู้เข้าร่วมไม่น้อยกว่า 600 คน เพื่อให้ความรู้และความเข้าใจด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้น ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติ กิจกรรมนี้ออกแบบตามแนวทาง การให้บริการท่าอากาศยานอย่างปลอดภัยขององค์การการบินพลเรือนระหว่างประเทศ (ICAO) โดยเน้นการถ่ายทอดความรู้ที่สามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน โดยเฉพาะในกรณีเหตุเพลิงไหม้ ซึ่งเป็นทักษะที่ ทอท. มีความเชี่ยวชาญและฝึกซ้อมอย่างต่อเนื่อง ฝ่ายกิจการเพื่อสังคมได้กำหนดให้ ท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่งในความรับผิดชอบของ ทอท. จัดกิจกรรมในรูปแบบเดียวกัน โดยได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานด้านการแพทย์ ทั้งในส่วนของวิทยากรและอุปกรณ์ พร้อมมอบชุดปฐมพยาบาลและยาสามัญให้แก่ชุมชน เพื่อเตรียมความพร้อมรับเหตุฉุกเฉินในโรงเรียนหรือพื้นที่ชุมชน ซึ่งช่วยลดความรุนแรงของการเจ็บป่วย การพิการ และการเสียชีวิตได้อย่างมีนัยสำคัญ นอกจากนี้ ทอท. ยังส่งเสริมให้ พนักงานด้านการดับเพลิงและกู้ภัย ที่มีความสมัครใจเข้าร่วมเป็นวิทยากร ถ่ายทอดความรู้ทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติให้แก่นักเรียนและประชาชนโดยรอบท่าอากาศยาน กว่า 1,000 คน ระหว่างเดือนพฤษภาคมถึงสิงหาคม 2567 ทั้งนี้ การดำเนินกิจกรรมดังกล่าวนำโดย ฝ่ายกิจการเพื่อสังคมจากสำนักงานใหญ่ และฝ่ายกิจการพิเศษและมวลชนสัมพันธ์ของท่าอากาศยานทั้ง 6 แห่ง ซึ่งมีหน้าที่ติดตามผลโครงการเป็นประจำทุกปี เพื่อพัฒนาและปรับปรุงให้เกิดประโยชน์ต่อชุมชนโดยรอบอย่างต่อเนื่อง

ตัวอย่าง ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
ผลลัพธ์ของการดำเนินกิจกรรม
- ผู้เข้าร่วมกิจกรรม ร้อยละ 100 มีความพึงพอใจต่อกิจกรรมและวิทยากรของ ทอท.
- ผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ด้านการปฐมพยาบาลเบื้องต้นไปปรับใช้ในชีวิตประจำวันได้
- พนักงานที่ปฏิบัติงานด้านการดับเพลิงและกู้ภัยได้ฝึกซ้อมและทบทวนขั้นตอนการทำงานอย่างสม่ำเสมอ