แนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืน

การพัฒนาอย่างยั่งยืนของ ทอท.

ทอท ดำเนินงานด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนภายใต้แนวความคิด “การเป็นสนามบินที่เป็นพลเมืองที่ดีของสังคมและเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของชุมชน (Corporate Citizenship Airport)” โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการเติบโตอย่างยั่งยืนจากการดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสังคม สร้างความสัมพันธ์อันดีและความเชื่อมั่นต่อผู้มีส่วนได้เสียทั้งในและต่างประเทศ และสร้างคุณค่าอย่างสมดุลทั้งมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

โครงสร้างการกำกับดูแล

1. กำหนดนโยบายด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีและความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาสู่ความยั่งยืน

ของ ทอท. เสนอต่อคณะกรรมการ ทอท.เพื่ออนุมัติ


2. ส่งเสริมและให้คำแนะนำแนวปฏิบัติที่ดีแก่คณะกรรมการ ทอท. เพื่อให้เกิดการกำกับดูแลกิจการที่ดี

ตามหลักการที่สำนักงานคณะกรรมการนโยบายรัฐวิสาหกิจ สำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์

และตลาดหลักทรัพย์ และตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กำหนด รวมทั้งหลักปฏิบัติที่เป็นที่ยอมรับ

ในระดับสากล


3. ส่งเสริมให้การดำเนินงานของ ทอท. คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคม ครอบคลุมทั้งมิติด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อมอย่างบูรณาการทั่วทั้งองค์กร


4. ติดตาม ประเมินและทบทวนเกี่ยวกับนโยบายและแนวปฏิบัติที่ดีด้านการกำกับดูแลกิจการที่ดีของ ทอท.

ให้สอดคล้องกับกฎหมาย หลักการกำกับดูแลที่ดีของภาครัฐและภาคเอกชน และแนวปฏิบัติสากล รวมทั้งข้อเสนอแนะของสถาบันที่เกี่ยวข้อง และเสนอคณะกรรมการ ทอท. เพื่ออนุมัติ


5. ติดตาม ทบทวนและประเมินผลเพื่อส่งเสริมให้การดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมของ ทอท.พัฒนาสู่ความยั่งยืนตามมาตรฐานสากล


6. วางกรอบแนวทางการกำกับดูแลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบขององค์กรและด้านการป้องกันและต่อต้านการทุจริต


7. กำหนดและทบทวนนโยบายต่อต้านคอร์รัปชัน หรือแนวทางในการปฏิบัติตามกฎหมายและกฎระเบียบองค์กร รวมถึงแนวทางในการเสริมสร้างและส่งเสริมวัฒนธรรมองค์กรด้านจริยธรรมและคุณธรรม


8. ควบคุมและกำกับดูแลภาพรวมของการบริหารความเสี่ยงด้านการทุจริตตามที่ได้รับมอบหมายจากคณะกรรมการ ทอท.


9. ให้ความเห็นชอบ ติดตามและทบทวนแผนเพิ่มประสิทธิภาพการกำกับดูแลของคณะกรรมการ ทอท.


10. แต่งตั้งคณะทำงานเพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม


11. รายงานผลการดำเนินงานให้คณะกรรมการ ทอท. ทราบหรือพิจารณาตามระยะเวลาที่เหมาะสม 

1. กำหนดแนวทางการดําเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน โดยให้สอดคล้องกับแนวทางของมาตรฐานสากล ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย กรอบการประเมินผลการดำเนินงานรัฐวิสาหกิจ ระบบประเมินผลการปฏิบัติงานของรัฐวิสาหกิจ (State Enterprise Assessment Model : SE-AM) ยุทธศาสตร์ภายใต้แผนวิสาหกิจของ ทอท. และแผนแม่บทด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของ ทอท. พร้อมทั้งพิจารณาการใช้งบประมาณที่เหมาะสม


2. กำกับดูแลให้การดําเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืนเป็นไปตามนโยบายและแผนงานของ ทอท.


3. กำหนดแนวทางการประชาสัมพันธ์ เพื่อให้ผู้บริหาร พนักงาน และสาธารณชนได้รับทราบการดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคม เพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืนของ ทอท.


4. ผู้มีส่วนได้เสียภายในห่วงโซ่คุณค่าได้รับทราบการดําเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อพัฒนาองค์กรสู่ความยั่งยืน ของ ทอท.


5. พิจารณาแต่งตั้งคณะทำงาน (ชุดย่อย) เพื่อช่วยเหลือการปฏิบัติงานได้ตามความเหมาะสม และเพื่อให้การดำเนินงานมีประสิทธิภาพสูงสุด


6. ติดตามประเมินผลและรายงานผลการดําเนินงานต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลเป็นระยะ 

1.จัดทำและดำเนินโครงการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมร่วมกับผู้มีส่วนได้เสีย เพื่อสร้างคุณค่าร่วม

ระหว่างชุมชน สังคม และ ทอท. ใน 3 มิติของการพัฒนาที่ยั่งยืน (เศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม)


2. ประชาสัมพันธ์การดําเนินการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม


3. รายงานผลการดําเนินงานต่อคณะกรรมการด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อพัฒนาสู่ความยั่งยืนของ ทอท. และ/หรือ คณะกรรมการธรรมาภิบาลของ ทอท.  

ทั้งนี้ ในการดำเนินการจัดการด้านความยั่งยืนได้มีฝ่ายกลยุทธ์องค์กร (ฝกอ.) ทำหน้าที่เป็นหัวหน้าสายวิชาการด้านการกำหนดทิศทาง นโยบายการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน โดยมีบทบาทของหัวหน้าสายวิชาการ ดังนี้

  • พิจารณากลั่นกรองรายการงบประมาณ เพื่อกำหนดคุณลักษณะ จำนวน และราคา ให้มีความเหมาะสม รวมทั้งจัดทำข้อกำหนด (Term of Reference: TOR) ที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาการ ESG เพื่อให้เป็นมาตรฐานเดียวกันทั้ง ทอท.
  • วิเคราะห์และเสนอความต้องการอุปกรณ์ เครื่องมือ ครุภัณฑ์ ที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาการ ESG รวมทั้งพัฒนาหลักการ ใช้งานการจัดซื้อ การบำรุงรักษา ควบคุม กำกับดูแล เพื่อให้เป็นมาตรฐานในการปฏิบัติงานให้มีความคุ้มค่า และเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน ทั้ง ทอท.
  • พิจารณาเสนอความเห็น ให้ข้อเสนอแนะ และร่วมวางแผน กำหนดแนวทางการปฏิบัติงาน หลักการดำเนินงาน และการปฏิบัติงานประจำ รวมทั้งกำกับดูแลการดำเนินงานที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาการ ESG
  • ให้คำปรึกษา แนะนำองค์ความรู้ด้านวิชาการ และร่วมกำหนดมาตรฐานการปฏิบัติงานตามภารกิจ ที่เกี่ยวข้องกับสายวิชาการ ESG
  • ร่วมกำหนดหลักสูตรการพัฒนา เสนอแนะแนวทางในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ ทอท. ที่เกี่ยวข้องกับ สายวิชาการ ESG

    นโยบายการบริหารจัดการด้านความยั่งยืน

    ทอท. กำหนดนโยบายการบริหารจัดการด้านความยั่งยืนที่สอดคล้องตามมาตรฐานที่ได้รับการยอมรับในระดับประเทศและระดับสากล เช่น มาตรฐาน ISO 26000 การประเมินความยั่งยืนองค์กรดัชนีดาวน์์โจนส์ (DJSI) เป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนขององค์การสหประชาชาติ (Sustainable Development Goals: SDGs) และมาตรฐาน AA1000 Stakeholder Engagement Standard (AA1000SES) โดยนโยบายดังกล่าวแบ่งออกเป็น 3 มิติ ดังนี้

    มิติสิ่งแวดล้อม (Environmental Dimension)

    มิติสิ่งแวดล้อม (Environmental Dimension)

    ดำเนินธุรกิจอย่างมีความรับผิดชอบต่อสิ่งแวดล้อม มีส่วนร่วมในการแก้ไขและรับมือกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และผลักดันอุตสาหกรรมท่าอากาศยาน และห่วงโซ่อุปทานของ ทอท. ให้มีบทบาทในการลดการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ขอบเขตที่ 1 2 และ 3 รวมถึงการเพิ่มการดูดซับก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ เพื่อบรรลุเป้าหมายการลดการปล่อยก๊าซเรือนกระจกสุทธิเป็นศูนย์ (Net Zero)

    ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงการใช้ทรัพยากรธรรมชาติ (น้ำ ไฟฟ้า และการจัดการของเสีย) อย่างคุ้มค่า และมีประสิทธิภาพสูงสุด ควบคู่ไปกับการนำเทคโนโลยีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมมาประยุกต์ใช้ในการดำเนินงานของ ทอท. เพื่อส่งเสริมแนวคิดเศรษฐกิจหมุนเวียน

    มิติสังคม (Social Dimension)

    มิติสังคม (Social Dimension)

    มุ่งมั่นในการพัฒนาศักยภาพบุคลากรของ ทอท. ให้มีความรู้ความเข้าใจในแนวทางการดำเนินงานด้านความยั่งยืน ตามมาตรฐานและกรอบการประเมินที่สำคัญทั้งในปัจจุบันและอนาคต เช่น มาตรฐานการรายงานด้านความยั่งยืน และกรอบการประเมินความยั่งยืนขององค์กรทั้งในระดับประเทศและระดับสากล ซึ่งจะเป็นแรงขับเคลื่อนสำคัญในการพัฒนาประสิทธิภาพการดำเนินงานของ ทอท.

    มุ่งมั่นดำเนินธุรกิจด้วยความรับผิดชอบต่อผู้ใช้บริการและนวัตกรรม ด้วยการส่งเสริมให้เกิดนวัตกรรมและพัฒนาเทคโนโลยีในการดำเนินงาน เพื่อลดผลกระทบเชิงลบใน 3 มิติ ต่อผู้มีส่วนได้เสีย พร้อมพัฒนาคุณภาพการดำเนินกิจการท่าอากาศยานอย่างต่อเนื่อง

    ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงสิทธิมนุษยชนตามหลักของ United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs และให้ความสำคัญกับการปฏิบัติตอบุคลากรอย่างเท่าเทียม จัดให้มีสวัสดิการ ดูแลสุขภาพ ความปลอดภัยและอาชีวอนามัยในสถานที่ทำงานด้วยความเหมาะสม มุ่งมั่น ปรับปรุง ตรวจสอบ และปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเคร่งครัด รวมทั้งสนับสนุนให้พนักงานมีส่วนร่วมในการทำประโยชน์ให้สังคม ทั้งทางตรงและทางอ้อม

    ดำเนินธุรกิจโดยคำนึงถึงการสร้างความสัมพันธ์ที่ดีกับผู้มีส่วนได้เสียตลอดห่วงโซ่คุณค่าของ ทอท. ส่งเสริมการสื่อสารที่โปร่งใสและเปิดกว้าง เพื่อให้เกิดการรับรู้อย่างสม่ำเสมอ มีส่วนร่วมอย่างแข็งขันเพื่อทำความเข้าใจความคาดหวังของผู้มีส่วนได้เสีย จัดการกับข้อกังวล และสร้างความสัมพันธ์ที่ดีร่วมกันบนพื้นฐานของความไว้วางใจและความร่วมมือจากทุกภาคส่วน

    ทอท. ตระหนักถึงความสำคัญของการมีส่วนร่วมและสนับสนุนชุมชนโดยรอบ แสวงหาโอกาสอย่างแข็งขันเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจท้องถิ่น ส่งเสริมความเท่าเทียมทางสังคม และเพิ่มความเข้มแข็งของชุมชน ควบคู่กับการรับฟังและให้ความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อบรรเทาข้อกังวล และบูรณาการข้อเสนอแนะของชุมชนและสังคมให้เป็นส่วนหนึ่งในกระบวนการตัดสินใจของ ทอท.

    มิติกำกับดูแล/เศรษฐกิจ (Governance Dimension)

    มิติกำกับดูแล/เศรษฐกิจ (Governance Dimension)

    มุ่งมั่นที่จะรักษามาตรฐานสูงสุดของการกำกับดูแลกิจการที่ดี ความโปร่งใส และความรับผิดชอบในการดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักการและให้ความสำคัญกับการเป็นองค์กรที่ดีตามกฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้อง มีความโปร่งใส ปฏิบัติตามนโยบายธรรมาภิบาลอย่างมีประสิทธิภาพ โดยคำนึงถึงการบริหารจัดการด้วยการรักษาสมดุลทั้ง ในมิติสิ่งแวดล้อม มิติสังคม และมิติกำกับดูแล/เศรษฐกิจ รวมถึงผลประโยชน์แก่ผู้มีส่วนได้เสียทุกฝ่ายในการดำเนินธุรกิจของ ทอท. พร้อมทั้งปฏิบัติตามกฎหมาย ข้อบังคับ และมาตรฐานที่เกี่ยวข้องกับการคุ้มครองสิ่งแวดล้อม ความรับผิดชอบต่อสังคม และการดำเนินธุรกิจที่ยั่งยืน เพื่อส่งเสริมความเชื่อมั่นในการดำเนินธุรกิจของ ทอท. และสร้างคุณค่าของการเติบโตร่วมกันอย่างยั่งยืน

    ดำเนินธุรกิจโดยยึดหลักธรรมาภิบาล ประกอบธุรกิจด้วยความเป็นธรรม สนับสนุนการค่าเสรี หลีกเลี่ยงการดำเนินงานที่อาจก่อให้เกิดการขัดแย้งทางผลประโยชน์ และการต่อต้านการทุจริตทุกรูปแบบ รวมถึง ส่งเสริมแนวทางการดำเนินธุรกิจ ที่คำนึงถึงความรับผิดชอบต่อสังคมในทุกกระบวนการของการดำเนินธุรกิจของ ทอท.

    ตระหนักถึงความสำคัญของการบริหารความเสี่ยง รวมการพิจารณาด้านความยั่งยืนเข้ากับกระบวนการตัดสินใจขององค์กร วางแผนการจัดการความเสี่ยงและติดตามอย่างต่อเนื่อง พร้อมทั้งทบทวนแนวทางปฏิบัติในการบริหารความเสี่ยงเพื่อให้มั่นใจได้ว่า ทอท. จะมีความพร้อมในการจัดการความเสี่ยงเชิงรุก ปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงและแสวงโอกาสที่เกิดขึ้นใหม่

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

    ยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืน

    ทอท. กำหนดยุทธศาสตร์การพัฒนาที่ยั่งยืนเพื่อมุ่งมั่นสู่การเป็นสนามบินที่เป็นพลเมืองดีของสังคมและเป็นเพื่อนบ้านที่ดีของชุมชน (Corporate Citizenship Airport) ซึ่งประกอบไปด้วย 3 ยุทธศาสตร์หลัก ดังนี้

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม

    แผนแม่บทด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของ ทอท. ปีงบประมาณ 2567 - 2571 ฉบับทบทวน (ปีงบประมาณ 2567)

    กรอบแนวทางด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ ทอท. (AOT Sustainable Development Framework)

    ทอท. ดำเนินงานด้านความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนตามกรอบการดำเนินงานการพัฒนาอย่างยั่งยืน ซึ่งพัฒนามาจากการวิเคราะห์ผลกระทบ ความเสี่ยง โอกาส และประเด็นสำคัญด้านความยั่งยืนที่มีต่อองค์กร โดยครอบคลุมมิติเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

    Social: สังคม
    ทอท. ให้ความสำคัญกับการพัฒนาทุนมนุษย์โดยสร้างบุคลากรคุณภาพเพื่อให้พร้อมกับการเติบโตของธุรกิจท่าอากาศยานไปพร้อมกับการดูแลและพัฒนาสังคมโดยรอบให้มีคุณภาพชีวิตที่ดี

    Economic: เศรษฐกิจ
    ทอท. ให้ความสำคัญกับการรองรับการขยายตัวของอุตสาหกรรมการขนส่งทางอากาศอย่างมีประสิทธิภาพจึงมุ่งพัฒนาและขยายขีดความสามารถของท่าอากาศยาน อันจะเป็นปัจจัยหลักต่อการพัฒนาเศรษฐกิจของประเทศ

    Environment: สิ่งแวดล้อม
    ทอท. ให้ความสำคัญกับการรักษาความสมบูรณ์ของสิ่งแวดล้อมโดยรอบท่าอากาศยาน โดยมุ่งพัฒนาท่าอากาศยานที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม (Green Airport)

    แผนที่การดำเนินงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainability Development Roadmap)

    ทอท. กำหนดแผนที่การดำเนินงานเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืนในกรอบระยะเวลา 5 ปี (ปีงบประมาณ 2567 – 2571) เพื่อดำเนินงานได้อย่างเป็นรูปธรรม โดยมีรายละเอียด ดังนี้

    การเข้าร่วมเป็นสมาชิก UN Global Compact

    ทอท. เข้าร่วมเป็นสมาชิกในข้อตกลงโลกแห่งสหประชาชาติ (UN Global Compact - UNGC) ตั้งแต่ปี 2567 เพื่อมุ่งมั่นในการบรรลุเป้าหมายของสหประชาชาติ และขับเคลื่อนธุรกิจไปสู่ความยั่งยืนตามหลักสากล 10 ประการ ผ่านการกำหนดนโยบาย กลยุทธ์ และการปฏิบัติงานครอบคลุมด้านสิทธิมนุษยชน แรงงาน สิ่งแวดล้อม และการต่อต้านการทุจริต

    ที่มา: https://globalcompact-th.com/about/gcnt

    เป้าหมายการพัฒนาอย่างยั่งยืนของ ทอท.

    ทอท. มุ่งมั่นส่งมอบคุณค่าการดำเนินงานตามเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน (Sustainable Development Goals - SDGs) 17 ข้อ แห่งองค์การสหประชาชาติ ซึ่งกําหนดขึ้นเป็นแนวทางให้ภาครัฐ เอกชน และองค์กรไม่แสวงหาผลกําไรอื่น ๆ พิจารณาทบทวนจุดมุ่งหมายขององค์กรให้สอดคล้องกับเป้าหมาย SDGs โดย ทอท. ได้เชื่อมโยงยุทธศาสตร์การบริหารจัดการด้านความยั่งยืนภายใต้แผนแม่บทด้านการพัฒนาที่ยั่งยืนของ ทอท. เข้ากับเป้าหมายดังกล่าว และเปิดเผยการดําเนินงานที่เกี่ยวข้องในแต่ละเป้าหมายลงในรายงานความยั่งยืนขององค์กรเป็นประจําทุกปี ปัจจุบัน ทอท. มีบริหารจัดการและดำเนินโครงการภายใต้แต่ละประเด็นสาระสำคัญด้านความยั่งยืนที่ตอบสนองเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืนต่าง ๆ ดังนี้

    มิติเศรษฐกิจ
    การกำกับดูแลกิจการ (Corporate Governance)
    SDG 09SDG 16
    SDG 9.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาคและที่ข้ามเขตแดน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ โดยมุ่งเป้าที่การเข้าถึงได้ในราคาที่สามารถจ่ายได้และเท่าเทียมสำหรับทุกคน SDG 16.5 ลดการทุจริตในตำแหน่งหน้าที่และการรับสินบนทุกรูปแบบ
    จริยธรรมในการดำเนินธุรกิจ (Business Ethics)
    SDG 09
    การบริหารความเสี่ยง (Risk Management)
    SDG 09
    เทคโนโลยีดิจิทัลและนวัตกรรม
    SDG 09
    SDG 9.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาคและที่ข้ามเขตแดน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ โดยมุ่งเป้าที่การเข้าถึงได้ในราคาที่สามารถจ่ายได้และเท่าเทียมสำหรับทุกคน SDG 9.B สนับสนุนการพัฒนาเทคโนโลยี การวิจัย และนวัตกรรมภายในประเทศกำลังพัฒนา รวมถึงการให้มีสภาพแวดล้อมทางนโยบายที่นำไปสู่ความหลากหลายของอุตสาหกรรมและการเพิ่มมูลค่าของสินค้าโภคภัณฑ์
    โครงสร้างพื้นฐาน ขีดความสามารถในการรองรับ และโอกาสทางธุรกิจ
    SDG 8 SDG 11SDG 17
    SDG 8.1 ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจต่อหัวประชากรมีความยั่งยืนตามบริบทของประเทศ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดให้มีการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอย่างน้อยร้อยละ 7 ต่อปี

    SDG 11.2 จัดให้ทุกคนเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน เข้าถึงได้ ปลอดภัยในราคาที่จ่ายได้ ปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการขยายระบบขนส่งสาธารณะ และคำนึงถึงความต้องการของกลุ่มคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง ผู้หญิง เด็ก ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ภายในปี พ.ศ. 2573 ต่อปี

    SDG 17.6 เพิ่มพูนการสนับสนุนระหว่างประเทศด้านการเสริมสร้างขีดความสามารถที่มี ประสิทธิผลและมุ่งเป้าในประเทศกำลังพัฒนา เพื่อสนับสนุนแผนระดับชาติที่ดำเนินการขับเคลื่อนทุกเป้าหมายการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงผ่านทางความร่วมมือแบบเหนือ-ใต้ ใต้-ใต้ และไตรภาคี
    การจัดการห่วงโซ่อุปทานที่ยั่งยืน
    SDG 08SDG 12
    SDG 8.1 ทำให้การเติบโตทางเศรษฐกิจต่อหัวประชากรมีความยั่งยืนตามบริบทของประเทศ โดยเฉพาะในประเทศพัฒนาน้อยที่สุดให้มีการขยายตัวของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศอย่างน้อยร้อยละ 7 ต่อปี

    SDG 8.4 ปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้ทรัพยากรของโลกในการบริโภคและการผลิตอย่างต่อเนื่อง และมุ่งแยกการเติบโตทางเศรษฐกิจออกจากความเสื่อมโทรมของสิ่งแวดล้อม (decouple) ซึ่งเป็นไปตามกรอบการดำเนินงานระยะ 10 ปี ว่าด้วยการผลิตและการบริโภคที่ยั่งยืน โดยมีประเทศที่พัฒนาแล้วเป็นผู้นำในการดำเนินการไปจนถึงปี พ.ศ. 2573

    SDG 8.7 ดำเนินมาตรการที่มีประสิทธิภาพโดยทันที เพื่อขจัดแรงงานที่ถูกบังคับ ยุติความเป็นทาสสมัยใหม่และการค้ามนุษย์ และยับยั้งและกำจัดการใช้แรงงานเด็กในรูปแบบที่เลวร้ายที่สุด ซึ่งรวมถึงการเกณฑ์และการใช้ทหารเด็ก และภายในปี พ.ศ. 2568 ยุติการใช้แรงงานเด็กในทุกรูปแบบ

    SDG 8.8 คุ้มครองสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะผู้หญิงและผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย

    SDG 12.7 ส่งเสริมแนวปฏิบัติด้านการจัดซื้อจัดจ้างของภาครัฐที่ยั่งยืน ให้สอดคล้องกับนโยบายและการจัดลำดับความความสำคัญของประเทศ
    มิติสิ่งแวดล้อม
    พลังงานและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ
    SDG 07SDG 13
    SDG 7.2 เพิ่มสัดส่วนของพลังงานทดแทนในการผสมผสานการใช้พลังงานของโลก ภายในปี 2573 SDG 7.3 ส่งเสริมการปรับปรุงประสิทธิภาพการใช้พลังงานของโลกให้เพิ่มขึ้น 2 เท่า ภายในปี 2573 SDG 13.1 เสริมสร้างภูมิคุ้มกันและขีดความสามารถในการปรับตัวต่ออันตรายและภัยพิบัติทางธรรมชาติที่เกี่ยวข้องกับภูมิอากาศในทุกประเทศ SDG 13.2 บูรณาการมาตรการด้านการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในนโยบาย ยุทธศาสตร์ และการจัดทำแผนระดับชาติ SDG 13.3 พัฒนาการศึกษา การสร้างความตระหนักรู้ และขีดความสามารถของมนุษย์และของสถาบันในเรื่องการลดก๊าซเรือนกระจก การปรับตัวและลดผลกระทบต่อการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ และการเตือนภัยล่วงหน้า
    การจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม (การจัดการน้ำและน้ำเสีย ผลกระทบทางเสียง เศรษฐกิจหมุนเวียน และความหลากหลายทางชีวภาพ)
    SDG 06SDG 11SDG 12
    SDG 6.3 ปรับปรุงคุณภาพน้ำ โดยการลดมลพิษ ขจัดการทิ้งและลดการปล่อยสารเคมีอันตรายและวัตถุอันตราย ลดสัดส่วนน้ำเสียที่ไม่ผ่านการบำบัดลงครึ่งหนึ่ง และเพิ่มการนำกลับมาใช้ใหม่และการใช้ซ้ำที่ปลอดภัยทั่วโลกให้มากขึ้น ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 6.4 เพิ่มประสิทธิภาพการใช้น้ำในทุกภาคส่วนและสร้างหลักประกันว่าจะมีการใช้น้ำและจัดหาน้ำที่ยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาการขาดแคลนน้ำ และลดจำนวนประชากรที่ประสบปัญหาการขาดแคลนน้ำ ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 6.5 สนับสนุนและเพิ่มความเข้มแข็งในการมีส่วนร่วมของชุมชนท้องถิ่นในการปรับปรุงการจัดการน้ำและการสุขาภิบาล

    SDG 11.6 ลดผลกระทบเชิงลบของเมืองต่อสิ่งแวดล้อมต่อหัวประชากร รวมถึงการให้ความสำคัญกับคุณภาพอากาศ และการจัดการขยะชุมชนและของเสียอื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 12.4 บรรลุเรื่องการจัดการสารเคมีและของเสียทุกชนิดตลอดวงจรชีวิตด้วยวิธีที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ตามกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศที่ตกลงกัน และลดการปล่อยสารเคมีและของเสียสู่อากาศ น้ำ และดินอย่างมีนัยสำคัญ เพื่อจะลดผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของมนุษย์และสิ่งแวดล้อมให้มากที่สุด ภายในปี พ.ศ. 2563

    SDG 12.5 ลดการเกิดของเสียอย่างมีนัยสำคัญด้วยการป้องกัน การลดปริมาณการใช้ซ้ำ และการนำกลับมาใช้ใหม่ ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 12.6 สนับสนุนให้บริษัท โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติและบริษัทขนาดใหญ่ รับแนวปฏิบัติที่ยั่งยืนไปใช้ และผนวกข้อมูลด้านความยั่งยืนไว้ในรอบการรายงานของบริษัท

    มิติสังคม
    ความพึงพอใจของลูกค้า
    SDG 11SDG 16
    SDG 11.2 จัดให้ทุกคนเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน เข้าถึงได้ ปลอดภัยในราคาที่จ่ายได้ ปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการขยายระบบขนส่งสาธารณะ และคำนึงถึงความต้องการของกลุ่มคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง ผู้หญิง เด็ก ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 16.B ส่งเสริมและบังคับใช้กฎหมายและนโยบายที่ไม่เลือกปฏิบัติ เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน
    ความปลอดภัยและการรักษาความปลอดภัยในท่าอากาศยาน SDG 03SDG 11 SDG 3.3 ยุติการแพร่ระบาดของเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และต่อสู้กับโรคตับอักเสบ โรคติดต่อทางน้ำ และโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 3.9 ลดจำนวนการตายและการเจ็บป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากมลพิษและการปนเปื้อนทางอากาศ น้ำ และดิน ให้ลดลงอย่างมาก ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 11.2 จัดให้ทุกคนเข้าถึงระบบคมนาคมขนส่งที่ยั่งยืน เข้าถึงได้ ปลอดภัยในราคาที่จ่ายได้ ปรับปรุงความปลอดภัยทางถนน โดยเฉพาะอย่างยิ่งด้วยการขยายระบบขนส่งสาธารณะ และคำนึงถึงความต้องการของกลุ่มคนที่อยู่ในสถานการณ์ที่เปราะบาง ผู้หญิง เด็ก ผู้พิการ และผู้สูงอายุ ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 11.7 จัดให้มีการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวที่ปลอดภัย ครอบคลุม และเข้าถึงได้โดยถ้วนหน้า โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงและเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ภายในปี พ.ศ. 2573
    อาชีวอนามัยและความปลอดภัยของผู้ปฏิบัติงาน
    SDG 03SDG 11
    SDG 3.3 ยุติการแพร่ระบาดของเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และต่อสู้กับโรคตับอักเสบ โรคติดต่อทางน้ำ และโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 3.9 ลดจำนวนการตายและการเจ็บป่วยจากสารเคมีอันตรายและจากมลพิษและการปนเปื้อนทางอากาศ น้ำ และดิน ให้ลดลงอย่างมาก ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 8.8 คุ้มครองสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะผู้หญิงและผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย
    สิทธิมนุษยชน
    SDG 10
    SDG 10.2 เสริมสร้างศักยภาพและส่งเสริมความครอบคลุมทางสังคม เศรษฐกิจและการเมืองสำหรับทุกคน โดยไม่คำนึงถึงอายุ เพศ ความพิการ เชื้อชาติ ชาติพันธุ์ แหล่งกำเนิด ศาสนา สถานะทางเศรษฐกิจหรือสถานะอื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573
    การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
    SDG 03 SDG 04 SDG 08
    SDG 3.4 ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อให้ลดลงหนึ่งในสาม ผ่านการป้องกันและการรักษาโรค และสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่เกี่ยวข้องจำเป็น รวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่มีคุณค่า และการเป็นผู้ประกอบการ ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 8.5 บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้พิการ และให้มีการจ่ายค่าจ้างที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 8.8 คุ้มครองสิทธิแรงงานและส่งเสริมสภาพแวดล้อมในการทำงานที่ปลอดภัยและมั่นคงสำหรับผู้ทำงานทุกคน รวมถึงแรงงานต่างด้าว โดยเฉพาะผู้หญิงและผู้ที่ทำงานเสี่ยงอันตราย
    ความปลอดภัยด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและความเป็นส่วนตัว
    SDG 09
    SDG 9.1 พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีคุณภาพ เชื่อถือได้ ยั่งยืนและมีความยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งรวมถึงโครงสร้างพื้นฐานระดับภูมิภาคและที่ข้ามเขตแดน เพื่อสนับสนุนการพัฒนาทางเศรษฐกิจและความเป็นอยู่ที่ดีของมนุษย์ โดยมุ่งเป้าที่การเข้าถึงได้ในราคาที่สามารถจ่ายได้และเท่าเทียมสำหรับทุกคน
    การมีส่วนร่วมกับชุมชนและสังคม
    SDG 03 SDG 04 SDG 07 SDG 08 SDG 11 SDG 12 SDG 14 SDG 15 SDG 17
    SDG 3.3 ยุติการแพร่ระบาดของเอดส์ วัณโรค มาลาเรีย และโรคเขตร้อนที่ถูกละเลย และต่อสู้กับโรคตับอักเสบ โรคติดต่อทางน้ำ และโรคติดต่ออื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 3.4 ลดการตายก่อนวัยอันควรจากโรคไม่ติดต่อให้ลดลงหนึ่งในสาม ผ่านการป้องกันและการรักษาโรค และสนับสนุนสุขภาพจิตและความเป็นอยู่ที่ดี ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 4.1 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนสำเร็จการศึกษาระดับประถมศึกษาและมัธยมศึกษาที่มีคุณภาพ เท่าเทียม และไม่มีค่าใช้จ่าย นำไปสู่ผลลัพธ์ทางการเรียนที่มีประสิทธิผล ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 4.2 สร้างหลักประกันว่าเด็กชายและเด็กหญิงทุกคนเข้าถึงการพัฒนา การดูแล และการจัดการศึกษาระดับก่อนประถมศึกษา สำหรับเด็กปฐมวัยที่มีคุณภาพ เพื่อให้เด็กเหล่านั้นมีความพร้อมสำหรับการศึกษาระดับประถมศึกษา ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 4.4 เพิ่มจำนวนเยาวชนและผู้ใหญ่ที่มีทักษะที่เกี่ยวข้องจำเป็น รวมถึงทักษะทางเทคนิคและอาชีพสำหรับการจ้างงาน การมีงานที่มีคุณค่า และการเป็นผู้ประกอบการ ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 4.5 ขจัดความเหลี่อมล้ำทางเพศด้านการศึกษา และสร้างหลักประกันว่ากลุ่มที่เปราะบางซึ่งรวมถึงผู้พิการ ชนพื้นเมือง และเด็กในสถานการณ์เปราะบาง เข้าถึงการศึกษาและการฝึกอาชีพทุกระดับอย่างเท่าเทียม ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 4.7 สร้างหลักประกันว่าผู้เรียนทุกคนได้รับความรู้และทักษะที่จำเป็นสำหรับส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการศึกษาสำหรับการพัฒนาที่ยั่งยืน การมีวิถีชีวิตที่ยั่งยืน สิทธิมนุษยชน ความเสมอภาคระหว่างเพศ การส่งเสริมวัฒนธรรมแห่งความสงบสุขและการไม่ใช้ความรุนแรง การเป็นพลเมืองของโลก การชื่นชมในความหลากหลายทางวัฒนธรรมและการที่วัฒนธรรมมีส่วนช่วยให้เกิดการพัฒนาที่ยั่งยืน ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 4.A สร้างและยกระดับสถานศึกษา ตลอดจนเครื่องมือและอุปกรณ์การศึกษาที่ตอบสนองความละเอียดอ่อนของเด็ก ความพิการ และเพศภาวะ และจัดให้มีสภาพแวดล้อมทางการเรียนรู้ที่ปลอดภัย ปราศจากความรุนแรง ครอบคลุมและมีประสิทธิผลสำหรับทุกคน

    SDG 7.2 เพิ่มสัดส่วนของพลังงานหมุนเวียนในสัดส่วนพลังงานของโลก (global energy mix) ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 8.3 ส่งเสริมนโยบายที่มุ่งเน้นการพัฒนาที่สนับสนุนกิจกรรมที่มีผลิตภาพ การสร้างงานที่มีคุณค่า ความเป็นผู้ประกอบการ ความสร้างสรรค์และนวัตกรรม และให้การสนับสนุนการรวมตัวและการเติบโตของวิสาหกิจรายย่อย ขนาดเล็ก และขนาดกลาง ผ่านการเข้าถึงบริการทางการเงิน

    SDG 8.5 บรรลุการจ้างงานเต็มที่และมีผลิตภาพ และการมีงานที่มีคุณค่าสำหรับหญิงและชายทุกคน รวมถึงเยาวชนและผู้พิการ และให้มีการจ่ายค่าจ้างที่เท่าเทียมสำหรับงานที่มีคุณค่าเท่าเทียมกัน ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 8.9 ออกแบบและใช้นโยบายเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวที่ยั่งยืน ซึ่งช่วยสร้างงานและส่งเสริมวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 11.6 ลดผลกระทบเชิงลบของเมืองต่อสิ่งแวดล้อมต่อหัวประชากร รวมถึงการให้ความสำคัญกับคุณภาพอากาศ และการจัดการขยะชุมชนและของเสียอื่นๆ ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 11.7 จัดให้มีการเข้าถึงพื้นที่สาธารณะและพื้นที่สีเขียวที่ปลอดภัย ครอบคลุม และเข้าถึงได้โดยถ้วนหน้า โดยเฉพาะสำหรับผู้หญิงและเด็ก ผู้สูงอายุ และผู้พิการ ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 12.2 บรรลุการจัดการที่ยั่งยืนและการใช้ทรัพยากรธรรมชาติอย่างมีประสิทธิภาพ ภายในปี พ.ศ. 2573

    SDG 12.B พัฒนาและดำเนินการใช้เครื่องมือเพื่อติดตามผลกระทบของการพัฒนาที่ยั่งยืนในด้านการท่องเที่ยวที่ยั่งยืนที่สร้างงานและส่งเสริมวัฒนธรรมและผลิตภัณฑ์ท้องถิ่น

    SDG 14.1 ป้องกันและลดมลพิษทางทะเลทุกประเภทอย่างมีนัยสำคัญ โดยเฉพาะจากกิจกรรมบนแผ่นดิน รวมถึงเศษซากขยะในทะเลและมลพิษจากธาตุอาหาร (nutrient pollution) ภายในปี พ.ศ. 2568

    SDG 15.2 ส่งเสริมการดำเนินการด้านการบริหารจัดการป่าไม้ทุกประเภทอย่างยั่งยืน หยุดยั้งการตัดไม้ทำลายป่า ฟื้นฟูป่าที่เสื่อมโทรม และเพิ่มการปลูกป่าและฟื้นฟูป่าทั่วโลกอย่างจริงจัง ภายในปี พ.ศ. 2563

    SDG 17.17 สนับสนุนและส่งเสริมหุ้นส่วนความร่วมมือระหว่างภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาสังคม โดยต่อยอดจากประสบการณ์และกลยุทธ์ด้านการระดมทรัพยากรของหุ้นส่วน

    ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 17 มี.ค. 2568