สิทธิมนุษยชน

ความสำคัญ

การดำเนินธุรกิจของ ทอท. ตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า ตั้งแต่ต้นน้ำจนถึงปลายน้ำ อาจมีความเสี่ยงด้านการละเมิดสิทธิมนุษยชนแฝงอยู่ ซึ่งอาจส่งผลกระทบเชิงลบต่อผู้มีส่วนได้เสียทุกกลุ่ม ประกอบด้วย กลุ่มพันธมิตรในการดำเนินงานซึ่งครอบคลุมคู่ค้าและผู้รับเหมา กลุ่มบุคลากรของ ทอท. (พนักงานและลูกจ้างของ ทอท.) กลุ่มชุมชนและสังคม กลุ่มลูกค้า และกลุ่มสื่อ ความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้น ได้แก่ การละเมิดความปลอดภัยในชีวิตและสุขภาพ สภาพการจ้างงานที่ไม่เป็นธรรม การเลือกปฏิบัติและการล่วงละเมิด เสรีภาพในการรวมกลุ่ม และการละเมิดความเป็นส่วนตัว ซึ่งเป็นประเด็นที่ได้รับความสนใจจากหน่วยงานกำกับดูแล สื่อมวลชน และนักลงทุน ดังนั้น สิทธิมนุษยชนจึงเป็นประเด็นสำคัญที่ ทอท. ให้ความสำคัญ โดยมุ่งส่งเสริมความรู้และความเข้าใจ เพื่อป้องกันและหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชนตลอดทั้งห่วงโซ่คุณค่า

นโยบาย

ทอท. ดำเนินธุรกิจตามนโยบายสิทธิมนุษยชน ซึ่งประกาศใช้ตั้งแต่ปี 2561 โดยมีแนวทางที่สอดคล้องกับ หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (United Nations Guiding Principles on Business and Human Rights: UNGPs) ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคม และวัฒนธรรม อนุสัญญาหลักด้านสิทธิแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (International Labour Organization: ILO) หลักการว่าด้วยการปกป้องสิทธิ การเคารพสิทธิ และการเยียวยาผลกระทบจากการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น หรือ Ruggie's Framework ตลอดจนแนวทางการปฏิบัติอย่างยั่งยืนของคู่ค้า และจรรยาบรรณ ทอท. โดยนโยบายดังกล่าวครอบคลุมสิทธิของพนักงาน สิทธิของชุมชนและสิ่งแวดล้อม สิทธิของคู่ค้าธุรกิจ และสิทธิของลูกค้า ในสถานที่ปฏิบัติงานของ ทอท. (Own Operations) รวมถึงคู่ค้าและผู้รับเหมาทางตรง (Contractors & Tier-1 Suppliers) และบริษัทย่อยและบริษัทร่วมทุน (Joint Venture without Management Control) โดย ทอท. มีความมุ่งมั่นที่จะป้องกันการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้ทรงสิทธิในประเด็นต่าง ๆ เช่น การค้ามนุษย์ (Human Trafficking) การใช้แรงงานบังคับ (Forced Labor) การใช้แรงงานเด็ก (Child Labor) และสิทธิเด็ก การเลือกปฏิบัติ (Discrimination) สิทธิในการการรวมกลุ่มและเจรจาต่อรอง (Collective Bargaining) และการให้ค่าตอบแทนที่เท่าเทียม (Equal Remuneration) นอกจากนี้ ทอท. ยัง ส่งเสริมการบริหารจัดการข้อร้องเรียน และกำหนดมาตรการเยียวยาในกรณีเกิดการละเมิดสิทธิมนุษยชน เพื่อให้มั่นใจว่าธุรกิจของ ทอท. ดำเนินไปอย่างมีความรับผิดชอบและเป็นธรรมต่อทุกภาคส่วน

แนวทางจัดการ

ทอท. ดำเนินการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน (Human Rights Due Diligence) อย่างสม่ำเสมอและทบทวนผล การตรวจสอบทุกปี ตามแนวทางของ United Nation Guiding Principles on Business and Human Rights (UNGPs) ที่ประกอบด้วย 5 ขั้นตอนที่สำคัญ ได้แก่ (1) ประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน (2) การประเมินผลกระทบและความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน (3) การบูรณาการผลการประเมินกับการบริหารภายในองค์กร (4) การติดตามและรายงานผลการดำเนินการ และ (5) การแก้ไขและเยียวยาผลกระทบ โดย ทอท. ให้ความสำคัญกับ ความโปร่งใสในการเปิดเผยผลการตรวจสอบ เพื่อสร้างความเชื่อมั่นแก่ผู้มีส่วนได้เสีย และส่งเสริมแนวทางการดำเนินธุรกิจที่เคารพสิทธิมนุษยชนอย่างยั่งยืน

ทอท. กำหนดให้สายงานทรัพยากรบุคคลและอำนวยการร่วมกับสายงานยุทธศาสตร์ มีหน้าที่รับผิดชอบในการควบคุมความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนของ ทอท. ตลอดห่วงโซ่คุณค่าให้อยู่ในระดับที่ยอมรับได้ ภายใต้การกำกับดูแลอย่างใกล้ชิดของคณะกรรมการ ธรรมาภิบาล ทอท. (Oversight Human Rights Committee) โดยมีแนวทาง ดังนี้

  • การทบทวนและประกาศนโยบายสิทธิมนุษยชน
  • การกำหนดขอบเขตการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
  • การจัดทำทะเบียนความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน
  • การประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนของ ทอท.
  • การบรรเทาความเสี่ยงหรือวางกลไกป้องกันและกำหนดแนวทางการเยียวยา
  • การสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่ผู้มีส่วนได้เสีย
  • การติดตาม/เชื่อมโยงกับผู้มีส่วนได้เสียเพื่อลดความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน
  • การบริหารจัดการช่องทางการร้องเรียนด้านสิทธิมนุษยชน

ทอท. ประเมินผลการจัดการความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชนผ่านกระบวนการตรวจสอบภายใน และการติดตามความเสี่ยง ด้านสิทธิมนุษยชนอย่างต่อเนื่อง ตลอดจนการติดตามข้อร้องเรียนเพื่อรายงานผลต่อคณะกรรมการธรรมาภิบาลและผู้บริหารระดับสูงเป็นประจํา นอกจากนี้ ทอท. ยังกําหนดให้ทบทวนนโยบายและกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประจํา นอกจากนี้ ทอท. กำหนดให้มีการทบทวนนโยบายและกระบวนการด้านสิทธิมนุษยชนเป็นประจำ เพื่อให้สอดคล้องกับแนวโน้มและการเปลี่ยนแปลงของความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน และสามารถดำเนินมาตรการเชิงป้องกันได้อย่างมีประสิทธิภาพ

ช่องทางรับข้อร้องเรียน (Grievance Mechanism)

ทอท. กำหนดช่องทางรับข้อร้องเรียนและข้อคิดเห็นด้านสิทธิมนุษยชน ที่ผู้มีส่วนได้เสียทุกภาคส่วนสามารถเข้าถึงได้ผ่านกระบวนการจัดการข้อร้องเรียนอย่างเป็นระบบและโปร่งใส เพื่อให้มั่นใจได้ว่าทุกประเด็นที่ ทอท. ได้รับการร้องเรียนจะถูกตรวจสอบและปรับปรุงแก้ไขการดําเนินงานให้ดีขึ้น ทั้งนี้ ทอท. มุ่งเน้นการป้องกันและหลีกเลี่ยงการละเมิดสิทธิมนุษยชน พร้อมทั้งส่งเสริมการเคารพสิทธิมนุษยชนอย่างเป็นรูปธรรม เพื่อสร้างความไว้วางใจและความร่วมมือกับผู้มีส่วนได้เสียในทุกระดับ

  • ตู้รับความคิดเห็นและข้อเสนอแนะ ติดตั้ง ณ สํานักงานใหญ่และบริเวณสํานักงานท่าอากาศยานในความรับผิดชอบของ ทอท. ทั้ง 6 แห่ง
  • จดหมายจ่าหน้าซองถึง คณะกรรมการ ทอท. กรรมการผู้อํานวยการใหญ่ หรือผู้อํานวยการสํานักตรวจสอบบริษัท ท่าอากาศยานไทย จํากัด (มหาชน) ที่ ตู้ปณ.3 ปณฝ.ดอนเมือง กทม. 10211
  • E-mail: goodgovernance@airportthai.co.th
  • AOT Contact Center 1722
  • เว็บไซต์ www.airportthai.oo.th ในส่วน “ติดต่อและรับเรื่องร้องเรียน” หรือช่องทางแชตออนไลน์
  • ฝ่ายสื่อสารองค์กร E-mail: aotpr@airportthai.co.th

ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
กระบวนการการรับข้อร้องเรียน

การดำเนินงาน

ทอท. ดําเนินการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน (Human Rights Risk/Impact Assessment) ครอบคลุมทั้งสถานที่ปฏิบัติงานของ ทอท. (Own Operations) คู่ค้าและผู้รับเหมาทางตรง (Contractors & Tier 1 Suppliers) และบริษัทย่อยและบริษัทร่วมทุน (Joint Venture without Management Control) โดยมีการระบุประเด็นความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชนที่แตกต่างกันตามลักษณะของการดำเนินงาน รวมถึงจำแนกผู้มีส่วนได้เสีย (หรือผู้ทรงสิทธิ) ออกเป็น 4 กลุ่มหลัก ได้แก่ กลุ่มลูกค้า กลุ่มคู่ค้า/ผู้รับเหมา กลุ่มชุมชนและสังคม และกลุ่มบุคลากรของ ทอท. นอกจากนี้ ทอท. ให้ความสำคัญกับกลุ่มเปราะบางที่ครอบคลุม สตรี สตรีตั้งครรภ์ เด็ก ผู้พิการ ชนพื้นเมือง แรงงานต่างด้าว แรงงานที่ว่าจ้างผ่านบุคคลที่สาม กลุ่มเพศทางเลือก (LGBTQI+) เพื่อให้แน่ใจว่าการดำเนินงานขององค์กรเป็นไปตามหลักสิทธิมนุษยชนสากล และป้องกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นกับกลุ่มเหล่านี้

สถานที่ปฏิบัติงานของ ทอท. (Own Operations)
  • สำนักงานใหญ่
  • ท่าอากาศยานสุวรรณภูมิ
  • ท่าอากาศยานดอนเมือง
  • ท่าอากาศยานเชียงใหม่
  • ท่าอากาศยานภูเก็ต
  • ท่าอากาศยานหาดใหญ่
  • ท่าอากาศยานแม่ฟ้าหลวง เชียงราย
  • โรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ แอร์พอร์ต
  • คู่ค้าและผู้รับเหมาทางตรง (Contractors & Tier 1 Suppliers) การบำรุงรักษาโครงสร้างพื้นฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกของท่าอากาศยาน
  • การบำรุงรักษาสะพานเทียบเครื่องบิน
  • ระบบสายพานลำเลียงกระเป๋าและระบบตรวจสอบสัมภาระ
  • การออกแบบและก่อสร้าง
  • การก่อสร้างและบำรุงรักษาทางวิ่งและทางขับ
  • การขนส่งในแนวดิ่ง (Vertical Transportation)
  • บริการสนับสนุนธุรกิจ
  • ที่ปรึกษา
  • การจัดการเอกสาร
  • การกำกับดูแลสินค้าปลอดภาษี
  • การบริการข้อมูล
  • บริการจัดการสิ่งอำนวยความสะดวก
  • การบริการทำความสะอาด
  • การจัดการความปลอดภัยจากอัคคีภัย
  • การบริการจัดสวนและภูมิทัศน์
  • ระบบปรับอากาศ HVAC (Heating, Ventilation, and Air Conditioning)
  • การบริการขนส่งภาคพื้น
  • ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ และเครือข่าย
  • ระบบองค์กร
  • ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ ฮาร์ดแวร์ณ์และซอฟต์แวร์
  • โครงสร้างพื้นฐานเครือข่าย
  • ระบบการสื่อสาร
  • ระบบรักษาความปลอดภัยและการเฝ้าระวัง
  • การติดตั้งอุปกรณ์รักษาความปลอดภัย
  • การบำรุงรักษาระบบรักษาความปลอดภัย
  • การจัดการสาธารณูปโภค 1
  • การจัดการระบบไฟฟ้า การบริการจัดการของเสีย
  • การจัดการน้ำ
  • บริษัทย่อยและบริษัทร่วมทุน (Joint Venture without Management Control)
  • บริษัท บริการภาคพื้น ท่าอากาศยานไทย จำกัด
  • บริษัท รักษาความปลอดภัย ท่าอากาศยานไทย จำกัด
  • บริษัท ฟอร์ท เอ็มอาร์โอ เซอร์วิส จำกัด
  • บริษัท ท่าอากาศยาน พลังงานบริสุทธิ์ จํากัด
  • บริษัท ครัวการบินภูเก็ต จำกัด
  • บริษัท ไทยเชื้อเพลิงการบิน จำกัด
  • ผลการประเมินความเสี่ยงและผลกระทบด้านสิทธิมนุษยชน

    ความครอบคลุมของการประเมิน/ทบทวนความเสี่ยงด้านสิทธิมนุษยชน ผลการดำเนินงาน เป้าหมาย
    2567 2567 2568 2569 2570 2571
    ร้อยละ 100 ร้อยละ 100

    ดูรายละเอียดเพิ่มเติม
    Human Rights Due Diligence 2024

    การฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชน

    ทอท. ดำเนินการประชุมเชิงปฏิบัติการเพื่อการทบทวนการตรวจสอบสิทธิมนุษยชนอย่างรอบด้าน โดยมีเป้าหมายเพื่อสื่อสารความคาดหวังด้านสิทธิมนุษยชนของ ทอท. ฝึกอบรมด้านสิทธิมนุษยชนให้แก่ผู้แทนแต่ละสายงานของ ทอท. พนักงาน ผ่านตัวแทนของแต่ละสายงาน ทั่วทั้ง ทอท. (สำนักงานใหญ่และท่าอากาศยาน ทั้ง 6 แห่ง) และโรงแรมโนโวเทล สุวรรณภูมิ แอร์พอร์ต โดยนำเสนอครอบคลุมกรอบแนวคิดต่าง ๆ เพื่อเสริมสร้างความตระหนักรู้ด้านสิทธิมนุษยชน ประกอบด้วย

    • หลักการชี้แนะว่าด้วยธุรกิจและสิทธิมนุษยชนขององค์การสหประชาชาติ (UNGPs)
    • ตราสารระหว่างประเทศด้านสิทธิมนุษยชน ขององค์การสหประชาชาติ
    • กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง
    • กติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิทางเศรษฐกิจ สังคมและวัฒนธรรม
    • อนุสัญญาหลักด้านสิทธิแรงงานขององค์การแรงงานระหว่างประเทศ (ILO)
    • หลักการว่าด้วยการปกป้องสิทธิ การเคารพสิทธิ และการเยียวยาผลกระทบ จากการละเมิดสิทธิมนุษยชนที่เกิดขึ้น หรือ Ruggie's Framework
    • นโยบายสิทธิมนุษยชนของ ทอท.

    ทบทวนล่าสุด ณ วันที่ 21 มีนาคม 2568